ChatGPT คืออะไร

ChatGPT พัฒนาโดยบริษัทฯ OpenAI เปิดตัวออกสู่สาธารณะชนเมื่อ เดือน Nov 2022 (แต่ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เริ่มมานานแล้ว 1956 เป็น Machine Learning – Deep learning) รูปแบบการทำงาน โดยการฝึกฝนให้จดจำข้อมูลจำนวนมากจากอินเทอร์เนต คล้ายลักษณะของ ChatBOT (เช่น โปรแกรมช๊อปปิ้งออนไลน์ เพราะเจ้าหน้าที่หรือคนที่เราคุยด้วยบ่อยๆ ก็คือ BOT) หรือ คอลเซนเตอร์ (Call Center) ของบริการต่างๆที่โทรไปเวลาเจอปัญหา จะมี AI ที่คล้ายๆกับ ChatBOT มารับสาย แล้วก็ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเรา ดังภาพอธิบาย

หลักการทำงาน คือ จับคีย์เวิร์ด (Keyword) ที่ผู้ใช้ (Users) คุยกับแชท บอท (ChatBot) แล้วหาคำตอบที่ตรงกัน ระบบแชทบอทนี้จะถูกออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะทาง เช่น เคยถูกสอน หรือเคยเรียนรู้มาแล้ว แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่นอกเหนือที่เคยเรียนรู้ไว้ ระบบก็จะตอบไม่ได้ แต่สำหรับแชทบอท เป็นแชทบอทที่ใช้ข้อมูล ปริมาณมหาศาลมากๆ ในการสอนระบบ ทำให้ไม่ว่าจะถามอะไรไปก็ดูเหมือนว่าจะตอบได้หมด

ตัวอย่าง การใช้ ChatGPT ช่วยสร้าง Code อย่างง่าย หรือจัดทริปท่องเที่ยว

บริษัทฯ ระดับโลกที่นำ ChatGPT ไปใช้งาน

  • Facebook – ใช้ ChatGPT เพื่อพัฒนา Messenger ที่มีการตอบกลับแบบธรรมชาติให้กับผู้ใช้งาน
  • Google – ใช้งาน ChatGPT ในการพัฒนา Google Assistant และ Search Engine
  • OpenAI – พัฒนา ChatGPT เองและให้บริการให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้งานผ่านเว็บไซต์ของพวกเขา
  • Microsoft – ใช้ ChatGPT ในการพัฒนา Cortana และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI และ Natural Language Processing
  • Uber – ใช้ ChatGPT เพื่อพัฒนาแชทบอท (chatbot) ที่สามารถตอบคำถามและให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Amazon – ใช้ ChatGPT ในการพัฒนา Alexa และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Natural Language Processing
  • IBM – ใช้ ChatGPT ในการพัฒนา Watson และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI และ Natural Language Processing

Generative AI และ ChatGPT สามารถนำไปประยุกต์กับใช้กับอาชีพแทบทุกอาชีพ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง 10 งาน ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้

  • งานด้าน Human Resource: เนื่องจาก ChatGPT สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ใส่เข้าไป และช่วยในงานเขียนต่าง ๆ ดังนั้นจึงการใช้งานในงานด้าน HR จึงเป็นไปได้แทบทั้งหมด เช่น การเขียน Job Description โดยให้วิเคราะห์จาก Competencies ที่ต้องการ, การตรวจ Resume ของผู้สมัคร เทียบกับ Job Description, การออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร
  • งานด้าน Programming: หนึ่งในความสามารถของ ChatGPT นั้นคือเรื่อง Coding มันสามารถเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้มีการนำไปใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ช่วย Code, ช่วยตรวจ Bug, ช่วยเรื่องการวางระบบ เป็นต้น
  • งานด้าน Data: ในงานด้าน Data ส่วนมากที่นำ ChatGPT มาประยุกต์จะเป็นด้านการวิเคราะห์, ช่วยคิดไอเดีย และเรื่อง Coding เช่น การช่วยออกแบบ Dashboard, การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น, เป็นตัวช่วยเขียนโค้ดในภาษาต่าง ๆ
  • งานด้าน UX: งานด้าน UX หรือการออกแบบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน สามารถนำ ChatGPT มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลจากลูกค้า และนำข้อมูลเหล่านั้นไปคิดต่อยอด เช่น ช่วยคิดคำถามสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน, การช่วยสรุป Feedback, การสรุปข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
  • งานด้าน Innovation: การใช้ ChatGPT ก็เข้ามาช่วยให้การคิด Innovation นั้นง่ายขึ้นมากเช่นกัน การสร้าง Innovation ควรเริ่มจากการเข้าใจลูกค้า แล้วนำข้อมูลของลูกค้ามาสร้างเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ ซึ่ง ChatGPT ก็เข้ามาช่วยได้ทั้งกระบวนการ เช่น การหาข้อมูลลูกค้า, การสรุปข้อมูล, การคิดไอเดียแก้ปัญหา ไปจนถึงการทดสอบ
  • งานด้าน Marketing และ SEO: งานด้านการตลาด เช่น การช่วยคิดคอนเทนต์, การวางแผนและคิดกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับสินค้านั้น ๆ รวมถึงด้าน SEO เช่น การช่วยคิดและจัดกลุ่ม Keyword, เป็นตัวช่วยในการเขียน Blog เป็นต้น
  • งานด้าน Sales: ผู้ที่เป็นตัวแทนขาย หรือผู้ที่ต้องติดต่อกับลูกค้า สามารถใช้ ChatGPT ในการเตรียมข้อมูล, สำรวจตลาด, เตรียม Personalized sales pitch, เตรียมสไลด์ เพื่อเพิ่มความเป็นมืออาชีพก่อนไปคุยกับลูกค้าได้ ซึ่งก็เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสปิดการขายได้อย่างมากเลย
  • งานด้านภาษาอังกฤษ: หนึ่งในความสามารถของ ChatGPT คือการรู้ภาษา ทำให้เราสามารถถามเรื่องเกี่ยวกับภาษาได้โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทั้ง “ฟัง พูด อ่าน เขียน” เช่น ช่วยสรุปข้อความยาว ๆ ให้สั้นลง อ่านง่ายขึ้น, ช่วยเขียนอีเมล เขียนบทความภาษาอังกฤษ, ช่วยตรวจการออกเสียงภาษาอังกฤษให้พูดได้เป๊ะมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
  • งานด้าน Graphic Design: นอกจาก ChatGPT แล้ว ยังมี AI ที่สามารถสร้างรูปภาพต่าง ๆ ขึ้นมาได้ ทำให้คนที่ต้องทำรูปภาพสามารถใช้ AI ในการช่วยทำงานได้ เช่น การสร้างรูปจากข้อความ, การต่อยอดจากภาพต้นฉบับ ให้กลายเป็นรูปเพิ่มเติมหลายรูป, การปรับรูปแบบของภาพ เป็นต้น
  • งานด้าน Architect: อย่างที่เล่าไปว่า Generative AI ยังมีตัวที่สามารถสร้างรูปภาพต่าง ๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งสายงานด้านสถาปัตยกรรมจึงได้ประโยชน์จาก AI ประเภทนี้ไปเต็ม ๆ มันสามารถต่อยอดสร้างภาพที่สมจริงจากแบบร่างได้เลย ช่วยให้สายสถาปัตย์ไม่ต้องมานั่งทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ช่วยคิดไอเดียเร็ว ๆ ไปเสนอลูกค้าก่อนมาลงแรงจริงได้ดีเลยทีเดียว

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการใช้งาน ChatGPT นะคะ